วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

การใช้ยา,สารเสพติดให้โทษ,ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำพื้นเมือง Folk Dance

ชื่อเรื่อง การใช้ยา,สารเสพติดให้โทษ,ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำพื้นเมือง Folk Dance
รายวิชสุขศึกษาและพลศึกษา 6 พ 30106
ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2554
จัดทำโดย
1. นายชนวีร์  จิระพรกุล   เลขที่ 11   ม.6/8
2. นายณัฎฐพล  เทนสิทธิ์   เลขที่ 12   ม.6/8
3. นายธนวินท์  นพโสภณ   เลขที่ 14   ม.6/8
4. นายไบรท์  จารุสารสุทธิกุล   เลขที่ 16   ม.6/8

การใช้ยาอย่างถูกวิธี


   ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ผู้ใช้ยาควรทราบถึงความหมายของคำ
ต่าง ๆ ที่พบเสมอในฉลากยา นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายรูปแบบที่ ผู้ใช้ยาควรทราบวิธีใช้ยาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว
ข้างต้น ดังนี้





ภาพจาก Web Site
http://www.photohobby.net/webboard/post_photo/7139a15.jpg
http://www.yenta4.com/webboard/upload_images/1076784_4298011.jpg 

          รับประทานก่อนอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
ได้ดี หากรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงมาก หากลืมรับประทานก่อนอาหารให้รับประทาน
หลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งใช้รักษาอาการคลื่นไส้
อาเจียน ให้รับประทานก่อนอาหารเพื่อที่จะได้ออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานอาหารลงไปได้ทัน
          รับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารนี้ ส่วนมากเป็น
ยาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่รบกวนต่อการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ หรือเป็นยาที่ถึงแม้จะถูกดูดซึมได้ดีในขณะ
ท้องว่าแต่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
          รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารมัก
ทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเมื่อรับประทานขณะท้องว่าง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นผลหรือจนถึงขั้นเป็นแผล
ทะลุได้ ดังนั้นจึงต้องมีอาหารหรือน้ำช่วยทำให้เจือจาง ยาดังกล่าวได้แก่ ยาแก้ปวดข้อต่าง ๆ ยาแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
          รับประทานก่อนนอน หมายความว่าให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืนวันละ 1 ครั้ง เท่านั้น

วิธีละลายยาผงแห้งปฏิชีวนะ
1. หากต้องใช้ยามากกว่า 1 ขวด ให้ละลายยาทีละขวด
2. เคาะผงยาในขวดให้ร่วน
3. ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วหรือน้ำดื่มที่สะอาดละลายยา ห้ามให้น้ำร้อนหรือน้ำอุ่น
4. เปิดฝาขวดยา เติมน้ำลงในขวดยาประมาณครึ่งขวด ปิดฝาขวด เขย่าให้ผงยาเปียกทั่วและกระจาย ไม่จับเป็นก้อน
5. เปิดฝาขวดยาอีกครั้ง เติมน้ำลงในขวดจนถึงขีดที่กำหนดไว้บนขวดยาหรือขีดบอกบนฉลากยา
6. ปิดฝาขวดยา เขย่าให้ยากระจายเข้ากันดี
7. ก่อนรินยา ต้องเขย่าขวดก่อนทุกครั้ง ยาที่ผสมแล้วมีอายุการใช้ไม่เกิน 7 วัน และเก็บยาไว้ในที่เย็นหรือในตู้เย็น
ช่องธรรมดา
วิธีใช้ยาเม็ดสำหรับอมใต้ลิ้นรักษาอาการปวดแน่นอก
1. อมยาใต้ลิ้นทันทีเมื่อมีอาการปวดแน่นอก
2. ไม่ควรเคี้ยวยา กลืนยา หรือกลืนน้ำลายขณะอมยา
3. เมื่ออมยาเม็ดแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้อมยาเม็ดที่ 2 และ 3 ห่างกัน 5 นาที เมื่อครบ 3 เม็ดแล้ว ถ้าอาการไม่ดีขึ้น
ให้รีบพบแพทย์
4. สามารถอมยาป้องกันล่วงหน้าได้ 5 – 10 นาที ก่อนประกอบกิจกรรมที่คาดว่าจะทำให้มีอาการปวดแน่นอก
 



ภาพจาก Web Site
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/opd/health/med1.jpg
http://hilight.kapook.com/admin_hilight/spaw2/newimg/health/p0102230451p1.jpg
http://img.kapook.com/image/health/01_75.jpg
วิธีใช้ยาชนิดแผ่นปิดผิวหนังรักษาอาการปวดแน่นอก
1. ควรปิดแผ่นยาเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ อย่ารอให้มีอาการแล้วค่อยปิด เพราะจะได้ผลช้า
2. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนใช้ยา
3. ติดแผ่นยาในบริเวณที่มีขนน้อยและแห้ง เช่น ท้องแขนหรือใต้ราวนม
4. อย่าปิดยาบริเวณที่มีรอยแผลหรือรอยพับ
5. เพื่อป้องกันการดื้อยาในผู้ที่ใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปิดแผ่นยาเพียงวันละ 12 – 14 ชั่วโมง เช่น ปิดแผ่นยา
เวลา 7.00 น. ดึงออกเวลา 19.00 น. เป็นต้น (ควรดึงแผ่นยาออกช่วงเวลากลางคืน)
วิธีใช้ยาหยอดตา
1. ล้างมือให้สะอาด เขย่าขวดยา
2. นอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบน ใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง
3. หยอดตาตามจำนวนหยดลงไป ระวังอย่าให้หลอดหยดแตะกับตาหรือเปลือกตา
4. หลับตาพร้อมทั้งใช้มือกดหัวตาไว้ประมาณ 1 – 2 นาที ซับส่วนที่เกินออก
5. หากจำเป็นต้องหยอดยาตาหลายชนิดในช่วงเวลาเดียวกัน ให้เว้นช่วงระยะเวลา 5 นาที เพื่อให้ยาแต่ละชนิดออกฤทธิ์ได้ดี
6. เมื่อเปิดยาใช้แล้ว ควรทิ้งหลังจาก 1 เดือน ห้ามล้างหรือทำความสะอาดหลอดหยดระหว่างใช้
วิธีใช้ยาป้ายตา
1. ล้างมือให้สะอาด
2. นอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบน ใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง
3. บีบยาลงในกระพุ้งตา โดยเริ่มจากหัวตา ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะกันตาหรือเปลือกตา
4. กะพริบตาเบา ๆ ประมาณ 1 – 2 นาที หรือใช้นิ้วมือคลึงเบา ๆ เช็ดยาส่วนเกินออก
5. ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับยาหยอดตา ให้ใช้ยาหยอดตาก่อนยาป้ายตาประมาณ 5 นาที
วิธีใช้ยาหยอดหู
1. ล้างมือและทำความสะอาดใบหูด้วยผ้าชุบน้ำ เช็ดให้แห้ง
2. กำขวดยาไว้ในอุ้งมือ 2 – 3 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับร่างกาย
3. เอียงหู หรือนอนตะแคง ให้หูข้างที่จะหยอดอยู่ด้านบน
4. ดูดยาและหยอดยาตามจำนวนหยด ดึงใบหูบา ๆ เพื่อให้ยาไกลลงหูได้สะดวก
5. เอียงหูข้างนั้นไว้ 2 – 3 นาที หรือใช้สำลีอุดหูไว้ 5 นาที
6. หากต้องการหยอดหูทั้ง 2 ข้าง ให้ทำซ้ำเหมือนเดิม
วิธีใช้ยาหยอดจมูก
1. สั่งน้ำมูกทิ้งเบา ๆ และใช้กระดาษเช็ดภายในจมูก
2. ล้างมือให้สะอาด
3. แหงนคอไปด้านหลังให้มากที่สุด หรือนอนราบบนเตียง เงยหน้าขึ้น
4. หยอดยาลงในรูจมูก ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะจมูก
5. ก้มศีรษะมาทางด้านหน้า และหมุนซ้ายขวาไปมาช้า ๆ ประมาณ 2 – 3 นาที
6. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำยาที่เกินออก
วิธีใช้ยาพ่นจมูก
1. สั่งน้ำมูกทิ้งเบา ๆ และใช้กระดาษเช็ดภายในจมูก
2. ล้างมือให้สะอาด
3. แหงนหน้าเพียงเล็กน้อย
4. กดหลอดยาพ่นโดยให้หลอดพ่นสัมผัสปลายจมูกได้
5. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำยาที่เกินออก



ยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติด

หมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3. มีอาการอยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม
“ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสพติด”
ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก. ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1. ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน อาซีทอร์ฟีน อีทอร์ฟีน ฯลฯ
2. ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน (โคเคน) โคเดอีน ฯลฯ
3. ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ปรุงผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีฝิ่นหรือโคเดอีน เป็นส่วนผสมยาแก้ท้องเสียที่มีไดฟีน็อคซิเลท เป็นส่วนผสม ฯลฯ
4. สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
5. ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
ข. จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ค. จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ง. การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1. ประเภทกดประสาท เช่นฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี, เอส ที พี, น้ำมันระเหย
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา
สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไป ฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่อยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ
มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.1. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อยๆ
1.2. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
1.3. ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาเจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง โมโห ขาสติ
1.4. ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ
2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
2.1. สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต็มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บริเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
2.2. สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อน ร่วมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
2.3. สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเสพติด
3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร็วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป็นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติด เพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไป และมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น
วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดหงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สูบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า “ลงแดง” มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาศัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด